บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักบริหารกลาง ได้สรุปสาระสำคัญระเบียบหลักเกณฑ์ทางราชการเกี่ยวกับบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เพื่อประโยชน์แก่บุคลากรในสังกัดเป็นความรู้และแนวทางดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ ดังนี้
- ปลัดกระทรวง สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดี
- อธิบดี สำหรับสำหรับตำแหน่งอื่นทุกตำแหน่งในกรม
มาตรา 8 กำหนดโดยสรุป
- บัตรประจำตัวสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐมีอายุไม่เกิน 6 ปี นับแต่วันออกบัตร
- บัตรประจำตัวสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่มีวาระการดำรงตำแหน่งน้อยกว่า 6 ปีให้ใช้ได้จนถึงวันที่ผู้ถือบัตรครบวาระการดำรงตำแหน่ง
- บัตรประจำตัวสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญที่ใช้ได้ในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ให้คงใช้ได้ตลอดชีวิต
มาตรา 9 และมาตรา 10 กำหนดโดยสรุป ดังนี้
- กรณีบัตรประจำตัวหมดอายุ ผู้ถือบัตรต้องขอมีบัตรภายใน 30 วันก่อนวันที่บัตรนั้นหมดอายุ
- กรณีบัตรหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ถือบัตรต้องขอมีบัตรใหม่ หรือขอเปลี่ยนบัตร แล้วแต่กรณี ภายใน 30 วันนับแต่วันที่บัตรนั้นหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด
- กรณีที่ผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุล ต้องขอเปลี่ยนบัตรภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุล แล้วแต่กรณี
- กรณีที่ผู้ถือบัตรประจำตัวได้เลื่อนยศ เลื่อนชั้น เลื่อนระดับ เปลี่ยนตำแหน่ง หรือย้ายสังกัด ให้ผู้นั้นขอบัตรประจำตัวใหม่ตามยศ ชั้น ระดับ ตำแหน่ง หรือสังกัดใหม่นั้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เลื่อนยศ เลื่อนชั้น เลื่อนระดับ เปลี่ยนตำแหน่ง หรือย้ายสังกัด
มาตรา 10 กำหนดโดยสรุป
- เจ้าหน้าที่ของรัฐออกจากราชการหรือพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นอันหมดสิทธิที่จะใช้บัตรประจำตัวนั้นต่อไป
- ถ้าผู้ถือบัตรประจำตัวสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญผู้ใดได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นนำบัตรประจำตัวนั้นไปใช้ในทางทุจริตให้เป็นอันหมดสิทธิที่จะใช้บัตรประจำตัวนั้นต่อไป
-
- ผู้ใดมิได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญ ใช้หรือแสดงบัตรประจำตัวว่าตนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญ ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
|