ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535
(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 2 ลงวันที่ 9 มกราคม 2535)
|
|
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของ
ข้าราชการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น คณะรัฐมนตรีจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535"
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิก
(1) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2520
(2) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2525
(3) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ (ฉบับที่3) พ.ศ. 2527
(4) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ พ.ศ. 2529
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ มติของคณะรัฐมนตรี และคำสั่งอื่นใด
ในส่วนที่มีกำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ 4 ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบ
และมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ส่วนการลาของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม ตามหมวด 3
ให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้รักษาการ และมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหา
ในกรณีที่การตีความหรือวินิจฉัยปัญหาของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวงยุติธรรมขัดแย้งกัน ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีวินิจฉัยชี้ขาด
|
หมวด 1 บททั่วไป
|
ข้อ 5 ในระเบียบนี้ "ปลัดกระทรวง" ให้หมายความรวมถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดทบวงและปลัดกรุงเทพมหานครด้วย
"หัวหน้าส่วนราชการ" หมายความว่า อธิบดี
หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม
ผู้ว่าราชการจังหวัด
และให้หมายความรวมถึงผู้อำนวยการสำนักในสังกัดกรุงเทพมหานคร
นายกราชบัณฑิตยสถาน
และเลขานุการรัฐมนตรีในฐานะบังคับบัญชาสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีด้วย
"หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง" หมายความว่า ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ปลัดกระทรวง ปลัดทบวงหรือปลัดกรุงเทพมหานคร
ในฐานะบังคับบัญชาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดทบวง หรือสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
และหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงหรือทบวง
"เข้ารับการตรวจเลือก" หมายความว่า เข้ารับการตรวจเลือกเพื่อรับราชการเป็นทหารกองประจำการ
"เข้ารับการเตรียมพล" หมายความว่า เข้ารับการระดมพล
เข้ารับการตรวจสอบพล เข้ารับการฝึกวิชาทหาร
หรือเข้ารับการทดลองความพรั่งพร้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
"องค์การระหว่างประเทศ" หมายความว่า
องค์การที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นด้วยความตกลงระหว่างประเทศทั้งในระดับรัฐบาล
และระดับเอกชน และสำหรับองค์การสหประชาชาติให้หมายความรวมถึง
ทบวงการชำนัญพิเศษและองค์การอื่นใดในเครือสหประชาชาติด้วย
"องค์การต่างประเทศ" หมายความว่า องค์การหรือสถาบันต่างประเทศตามที่ผู้รักษาการตามระเบียบจะได้ประกาศรายชื่อให้ทราบ
"การไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ" หมายความรวมถึง
การไปปฏิบัติงานตามโครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์
การไปปฏิบัติงานในองค์การต่างประเทศ
การไปปฏิบัติงานในต่างประเทศในลักษณะเดียวกันกับการไปปฏิบัติงานในองค์การ
ระหว่างประเทศ รวมทั้งการไปปฏิบัติงานในหน่วยงานขององค์การระหว่างประเทศ
หน่วยงานขององค์การต่างประเทศ
หรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย
โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนในลักษณะเดียวกันกับเงินเดือนจากองค์การ
ระหว่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ
หรือจากประเทศที่ไปปฏิบัติงาน แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเดินทางไปราชการ
ตามระเบียบว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการหรือการจัดการประชุมของทาง
ราชการ
การไปรับราชการประจำในต่างประเทศ การไปศึกษา ฝึกอบรม
ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัย
ตามระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน ณ
ต่างประเทศ
"ลาติดตามคู่สมรส" หมายความว่า
ลาติดตามสามีหรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐ
วิสาหกิจ ซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
หรือทางราชการสั่งให้ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศตามความต้องการของทางราชการ
ตามกฎหมาย
ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือน
เต็มเวลาราชการหรือเต็มเวลาทำงาน ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
แต่ไม่รวมถึงกรณีที่คู่สมรสลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ณ
ต่างประเทศ
ข้อ 6
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้า
ราชการพลเรือน
ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนใน
มหาวิทยาลัย ข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ
ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
และข้าราชการกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ในกรณีที่กระทรวง ทบวง
กรมใดมีพิเศษซึ่งจะต้องวางหลักเกณฑ์และขั้นตอน
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลาประเภทใดเพิ่มเติมหรือแตกต่างไปจากที่ระเบียบนี้
กำหนด ให้กระทรวง
หรือทบวงเจ้าสังกัดขอความเห็นผู้รักษาการตามระเบียบเพื่อประกอบการพิจารณา
กำหนดเป็นระเบียบของกระทรวงหรือทบวง นั้นได้
ข้อ 7 การลาทุกประเภทตามระเบียบนี้ ถ้ามีกฎหมาย
ระเบียบหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดเกี่ยวกับการลาประเภทใดไว้เป็นพิเศษ
ผู้ลาและผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาจะต้อง ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบหรือมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการลาประเภทนั้นด้วย
ข้อ 8 ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตและอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาสำหรับ
ข้าราชการแต่ละประเภทให้เป็นไปตามตารางที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
ส่วนราชการหรือหน่วยงานใดมีข้าราชการหลายประเภท
ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาของส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้นมีอำนาจ
พิจารณาหรืออนุญาตการลาสำหรับข้าราชการทุกประเภทที่อยู่ในสังกัดส่วนราชการ
หรือหน่วยงานนั้น
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาตามระเบียบนี้
ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้และมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนไม่อาจรอขอ
อนุญาตจากผู้มีอำนาจได้
ให้ผู้ลาเสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้มีอำนาจอนุญาตการลาชั้นเหนือขึ้นไปเพื่อ
พิจารณา และเมื่ออนุญาตแล้วให้แจ้งให้ผู้มีอำนาจอนุญาตตามระเบียบทราบด้วย
ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาจะมอบหมายหรือมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใด เป็นผู้พิจารณาหรืออนุญาตแทนก็ได้
ข้อ 9 ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการ ณ
หน่วยงานอื่นใดของทางราชการหากประสงค์จะลาป่วย ลาคลอดบุตร ลากิจส่วนตัว
ลาพักผ่อน หรือลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
ในช่วงเวลาที่ไปช่วยราชการ
ให้เสนอขออนุญาตลาต่อผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานที่ไปช่วยราชการ
แล้วให้หน่วยงานนั้นรายงานจำนวนวันลาให้หน่วยงานต้นสังกัดของผู้นั้นทราบ
อย่างน้อยปีละครั้ง
การลาประเภทอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ให้เสนอขออนุญาตลาต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับการลาประเภทนั้น
ข้อ 10 การนับวันลาตามระเบียบนี้ให้นับตามปีงบประมาณ
การนับวันลาเพื่อประโยชน์ในการเสนอหรือจัดส่งใบลา อนุญาตให้ลา
และคำนวณวันลาให้นับต่อเนื่องกันโดยนับวันหยุดราชการที่อยู่ในระหว่างวัน
ลาประเภทเดียวกันรวมเป็นวันลาด้วย
เว้นแต่การนับเพื่อประโยชน์ในการคำนวณวันลาสำหรับวันลาป่วยที่มิใช่วันลา
ป่วยตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บ
เพราะเหตุปฏิบัติราชการ วันลากิจส่วนตัวและวันลาพักผ่อน
ให้นับเฉพาะวันทำการ
การลาป่วยหรือลากิจส่วนตัวซึ่งมีระยะเวลาต่อเนื่องกัน
จะเป็นในปีเดียวกันหรือไม่ก็ตาม ให้นับเป็นการลาครั้งหนึ่ง
ถ้าจำนวนวันลาครั้งหนึ่งรวมกันเกินอำนาจของผู้มีอำนาจอนุญาตระดับใด
ให้นำใบลาเสนอขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต
ข้าราชการที่ถูกเรียกกลับมาปฏิบัติราชการระหว่างการลา
ให้ถือว่าการลาเป็นอันหมดเขตเพียงวันก่อนวันเดินทางกลับ
และวันราชการเริ่มต้นตั้งแต่วันออกเดินทางกลับเป็นต้นไป
การลาครึ่งวันในตอนเช้าหรือตอนบ่าย ให้นับเป็นการลาครึ่งวันตามประเภทของการลานั้น ๆ
ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลา
หากประสงค์จะยกเลิกวันลาที่ยังไม่ได้หยุดราชการให้เสนอขอถอนวันลาต่อผู้
บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตให้ลา
และให้ถือว่าการลาเป็นอันหมดเขตเพียงวันที่ขอถอนวันลานั้น
ข้อ 11 เพื่อควบคุมให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีลงเวลาการปฏิบัติราชการของข้าราชการในสังกัด
โดยมีสาระสำคัญตามตัวอย่างท้ายระเบียบนี้
หรือจะใช้เครื่องบันทึกเวลาการปฏิบัติราชการแทนก็ได้
ในกรณีจำเป็น หัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
จะกำหนดวิธีลงเวลาปฏิบัติราชการ
หรือวิธีควบคุมการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่มีการปฏิบัติราชการในลักษณะ
พิเศษเป็นอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้
แต่ทั้งนี้จะต้องมีหลักฐานให้สามารถตรวจสอบวัน เวลา
การปฏิบัติราชการได้ด้วย
ข้อ 12 การลาให้ใช้ใบลาตามแบบท้ายระเบียบนี้
เว้นแต่ในกรณีจำเป็นหรือรีบด่วนจะใช้ใบลาที่มีข้อความไม่ครบถ้วนตามแบบหรือ
จะลาโดยวิธีการอย่างอื่นก็ได้
แต่ทั้งนี้ต้องส่งใบลาตามแบบในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
ข้อ 13
ข้าราชการซึ่งประสงค์จะไปต่างประเทศในระหว่างการลาตามระเบียบนี้ หรือ
ในระหว่างวันหยุดราชการ
ให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการหรือหัว
หน้าส่วนราชการขึ้นตรง
สำหรับหัวหน้าส่วนราชการให้เสนอขออนุญาตต่อปลัดกระทรวง
หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงและข้าราชการในราชบัณฑิตยสถานให้เสนอขออนุญาตต่อ
รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
ส่วนปลัดกรุงเทพมหานครให้เสนอขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
การอนุญาตของหัวหน้าส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง เมื่ออนุญาตแล้วให้รายงาน
ปลัดกระทรวงทราบด้วย
ข้อ 14 การขออนุญาตไปต่างประเทศซึ่งอยู่ติดเขตแดนประเทศไทย
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอในท้องที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใด
มีอำนาจอนุญาตให้ข้าราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาคในสังกัดจังหวัดหรือ
อำเภอนั้น ๆ ไปประเทศนั้นได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน และ 3 วัน ตามลำดับ
ข้อ 15 ข้าราชการผู้ใดไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้
อันเนื่องมาจากพฤติการณ์พิเศษซึ่งเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไปในท้องที่นั้น
หรือพฤติการณ์พิเศษซึ่งเกิดขึ้นกับข้าราชการผู้นั้นและมิได้เกิดจากความ
ประมาทเลินเล่อหรือความผิดของข้าราชการผู้นั้นเอง
โดยพฤติการณ์พิเศษดังกล่าวร้ายแรงจนเป็นเหตุขัดขวางทำให้ไม่สามารถมาปฏิบัติ
ราชการ ณ สถานที่ตั้งตามปกติ
ให้ข้าราชการผู้นั้นรีบรายงานพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นรวมทั้งอุปสรรคขัดขวางที่
ทำให้มาปฏิบัติราชการไม่ได้ต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วน
ราชการหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงทันทีในวันแรกที่สามารถมาปฏิบัติราชการ
ได้
สำหรับหัวหน้าส่วนราชการให้รายงานต่อปลัดกระทรวง
หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงให้รายงานต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
ส่วนปลัดกรุงเทพมหานครให้รายงานต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในกรณีที่หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
เห็นว่าการที่ข้าราชการผู้นั้นมาปฏิบัติราชการไม่ได้
เป็นเพราะพฤติการณ์พิเศษตามวรรคหนึ่งจริง
ให้สั่งให้การหยุดราชการของข้าราชการผู้นั้นไม่นับเป็นวันลาตามจำนวนวันที่
ไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้อันเนื่องมาจากพฤติการณ์พิเศษดังกล่าว
ในกรณีที่หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
เห็นว่าการที่ไม่สามารถมาปฏิบัติราชการยังไม่สมควรถือ
เป็นพฤติการณ์พิเศษตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าวันที่ข้าราชการผู้นั้นไม่มาปฏิบัติราชการเป็นวันลากิจส่วนตัว
|
หมวด 2 ประเภทการลา
ข้อ 16 การลาแบ่งออกเป็น 9 ประเภท คือ (1) การลาป่วย
(2) การลาคลอดบุตร
(3) การลากิจส่วนตัว
(4) การลาพักผ่อน
(5) การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
(6) การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(7) การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย
(8) การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
(9) การลาติดตามคู่สมรส
ส่วนที่ 1 การลาป่วย
ข้อ 17 ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาป่วยเพื่อรักษาตัว
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาจัดส่งต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจ
อนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่ในกรณีจำเป็น
จะเสนอหรือจัดส่งใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการก็ได้
ในกรณีที่ข้าราชการผู้ขอลามีอาการป่วยจนไม่สามารถจะลงชื่อในใบลา
ได้ จะให้ผู้อื่นลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว
การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป
ต้องมีใบรับรองแพทย์ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้
ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแนบไปกับใบลาด้วย
ในกรณีจำเป็นหรือเห็นสมควรผู้มีอำนาจอนุญาตจะสั่งให้ใช้ใบรับรองของแพทย์
ซึ่งผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นชอบแทนก็ได้
การลาป่วยไม่ถึง 30 วัน
ไม่ว่าจะเป็นการลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งติดต่อกันถ้าผู้มีอำนาจอนุญาตเห็น
สมควร จะสั่งให้มีใบรับรองแพทย์ตามวรรคสามประกอบใบลา
หรือสั่งให้ผู้ลาไปรับการตรวจจากแพทย์ของทางราชการเพื่อประกอบการพิจารณา
อนุญาตก็ได้
ส่วนที่ 2 การลาคลอดบุตร
ข้อ 18 * ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาคลอดบุตร
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อน
หรือในวันที่ลา เว้นแต่ไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้ จะให้ผู้อื่น
ลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้วให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว
และมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับเงินเดือนครั้งหนึ่งได้ 90 วัน
โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
การลาคลอดบุตรจะลาในวันที่คลอด ก่อนหรือหลังวันที่คลอดบุตรก็ได้ แต่เมื่อรวมวันลาแล้วต้องไม่เกิน 90
ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาคลอดบุตรและได้หยุดราชการไปแล้วแต่
ไม่ได้คลอดบุตรตามกำหนด หากประสงค์จะขอถอนวันลาคลอดบุตรที่หยุดไป
ให้ผู้มีอำนาจอนุญาต อนุญาตให้ถอนวันลาคลอดบุตรได้
โดยให้ถือว่าวันที่ได้หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว
การลาคลอดบุตรคาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดซึ่งยังไม่ครบกำหนดวันลา
ของการลาประเภทนั้น ให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลง
และให้นับเป็นการลาคลอดบุตรตั้งแต่วันเริ่มวันลาคลอดบุตร
ส่วนที่ 3 การลากิจส่วนตัว
ข้อ 19 ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลากิจส่วนตัว
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต
และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้
เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถรอรับอนุญาตได้ทันจะเสนอหรือจัดส่งใบลาพร้อม
ด้วยระบุเหตุจำเป็นไว้แล้วหยุดราชการไปก่อนก็ได้
แต่จะต้องชี้แจงเหตุผลให้ผู้มีอำนาจอนุญาตทราบโดยเร็ว
ในกรณีมีเหตุพิเศษที่ไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาก่อนตามวรรคหนึ่ง
ได้
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาพร้อมทั้งเหตุผลความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ
จนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตทันทีในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
ข้อ 20 * ยกเลิก
ข้อ 21 * ข้าราชการมีสิทธิลากิจส่วนตัว โดยได้รับเงินเดือนปีละไม่เกิน 45 วันทำการ
ข้อ 22 * ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรตามข้อ 18 แล้ว
หากประสงค์จะลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร
ให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 150 วันทำการ
โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา
ข้อ 23 * ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัว
เว้นแต่กรณีการลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรตามข้อ 22
ซึ่งได้หยุดราชการไปยังไม่ครบกำหนด ถ้ามีราชการจำเป็นเกิดขึ้น
ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจอนุญาตจะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการก็ได้
ส่วนที่ 4 การลาพักผ่อน
ข้อ 24 ข้าราชการมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งได้ 10
วันทำการ
เว้นแต่ข้าราชการดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีที่ได้รับบรรจุ
เข้ารับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน
(1) ผู้ซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครั้งแรก
(2) ผู้ซึ่งลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีก
(3)
ผู้ซึ่งลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือก
ตั้ง แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีกหลัง 6 เดือน นับแต่วันออกราชการ
(4) ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่น
นอกจากกรณีไปรับราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
และกรณีไปปฏิบัติงานใด ๆ
ตามความประสงค์ของทางราชการแล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีก
ข้อ 25 ถ้าในปีใดข้าราชการผู้ใดมิได้ลาพักผ่อนประจำปี
หรือลาพักผ่อนประจำปีแล้วแต่ไม่ครบ 10 วันทำการ
ให้สะสมวันที่ยังมิได้ลาในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้
แต่วันลาพักผ่อนสะสมรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันจะต้องไม่เกิน 20
วันทำการ
สำหรับผู้ที่ได้รับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี
ให้มีสิทธินำวันลาพักผ่อนสะสมรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันได้ไม่เกิน 30
วันทำการ
ข้อ 26 ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาพักผ่อน
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต
และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้
ข้อ 27 การอนุญาตให้ลาพักผ่อน ผู้มีอำนาจอนุญาตจะอนุญาตให้ลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้ โดยมิให้เสียหายแก่ราชการ
ข้อ 28
ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลาพักผ่อนซึ่งหยุดราชการไปยังไม่ครบกำหนด
ถ้ามีราชการจำเป็นเกิดขึ้น
ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจอนุญาตจะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการก็ได้
ข้อ 29
ข้าราชการประเภทใดที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาและมีวันหยุดภาคการศึกษาหากได้
หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกินกว่าวันลาพักผ่อนตามระเบียบนี้
ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
ส่วนที่ 5 การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
ข้อ 30 ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา
หรือข้าราชการที่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งประสงค์จะลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ
เมืองเมกกะ
ประเทศซาอุดิอาระเบียให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึง
ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตก่อนวันอุปสมบท
หรือก่อนวันเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ไม่น้อยกว่า 60 วัน
ในกรณีมีเหตุพิเศษไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาก่อนตามวรรคหนึ่ง
ให้ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นประกอบการลา
และให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาให้ลาหรือไม่ก็ได้
ข้อ 31 ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบท
หรือได้รับอนุญาตให้ลาไปประกอบพิธีฮัจย์ตามข้อ 30 แล้ว
จะต้องอุปสมบทหรือออกเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ภายใน 10 วัน
นับแต่วันเริ่มลา และจะต้องกลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการภายใน 5 วัน
นับแต่วันที่ลาสิกขา
หรือวันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทยหลังจากการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์
ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทหรือได้
รับอนุญาตให้ลาไปประกอบพิธีฮัจย์และได้หยุดราชการไปแล้ว
หากปรากฎว่ามีปัญหาอุปสรรคทำให้ไม่สามารถอุปสมบท
หรือไปประกอบพิธีฮัจย์ตามที่ขอลาไว้
เมื่อได้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติและขอถอนวันลา
ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต
พิจารณาหรืออนุญาตให้ถอนวันลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจย์ได้
โดยให้ถือว่าวันที่ได้หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว
ส่วนที่ 6 การลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล
ข้อ 32 ข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือก
ให้รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือกไม่น้อยกว่า 48
ชั่วโมง ส่วนข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพล
ให้รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 48 ชั่วโมง
นับแต่เวลารับหมายเรียกเป็นต้นไป และให้ไปเข้ารับการตรวจเลือก
หรือเข้ารับการเตรียมพลตามวันเวลาในหมายเรียกนั้นโดยไม่ต้องรอรับคำสั่ง
อนุญาต และให้ผู้บังคับบัญชาเสนอรายงานลาไปตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ
หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
สำหรับหัวหน้าส่วนราชการ ให้รายงานลาต่อปลัดกระทรวง
หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงให้รายงานลาต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
ส่วนปลัดกรุงเทพมหานครให้รายงานลาต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ 33
เมื่อข้าราชการที่ลานั้นพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียม
พล
แล้ว ให้มารายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 7
วัน เว้นแต่กรณี
ที่มีเหตุจำเป็นหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง ปลัดกระทรวง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดตามข้อ 32
อาจขยายเวลาให้ได้แต่รวมแล้วไม่เกิน 15 วัน
ส่วนที่ 7 การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย
ข้อ 34 ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน
หรือฏิบัติการวิจัย ณ ต่างประเทศ
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงปลัดกระทรวงหรือหัว
หน้าส่วนราชการขึ้นตรง เพื่อพิจารณาอนุญาต
สำหรับการลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศ
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ
หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง เพื่อพิจารณาอนุญาต
เว้นแต่ข้าราชการกรุงเทพมหานครให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
สำหรับหัวหน้าส่วนราชการให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อปลัดกระทรวง
หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงและข้าราชการในราชบัณฑิตยสถานให้เสนอหรือจัดส่งใบ
ลาต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดส่วนปลัดกรุงเทพมหานครให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้
ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาอนุญาต
ส่วนที่ 8 การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
ข้อ 35
ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
เพื่อพิจารณา โดยถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
ข้อ 36 การไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ มี 2 ประเภท คือ
"ประเภทที่ 1" ได้แก่ การไปปฏิบัติงานในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(1) การไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกและเป็นวาระที่จะต้องส่งไปปฏิบัติงานในองค์การนั้น
(2) รัฐบาลไทยมีข้อผูกพันที่จะต้องส่งไปปฏิบัติงานตามความตกลงระหว่างประเทศ
(3) ประเทศไทยต้องส่งไปปฏิบัติงานเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประเทศตามความต้องการของรัฐบาลไทย
"ประเภทที่ 2" ได้แก่ การไปปฏิบัติงานนอกเหนือจากประเภทที่ 1
ข้อ 37 ข้าราชการที่ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1)
เป็นข้าราชการประจำตลอดมาเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีก่อนถึงวัน
ที่ได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติงาน
เว้นแต่ผู้ที่ไปปฏิบัติงานในองค์การสหประชาชาติกำหนดเวลาห้าปีให้ลดเป็นสอง
ปี
สำหรับผู้ที่เคยไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
ประเภทที่ 2 มาแล้วจะต้องมีเวลาปฏิบัติราชการในส่วนราชการไม่น้อยกว่าสองปี
นับแต่วันเริ่มกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หลังจากที่เดินทางกลับจากการไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศประเภทที่ 2
ครั้งสุดท้าย
(2)
ผู้ที่ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศประเภทที่ 2
ต้องมีอายุไม่เกินห้าสิบสองปีบริบูรณ์
นับถึงวันที่ได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติงาน
(3) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการมีความรู้ความสามารถเหมาะสม มีความประพฤติเรียบร้อยและไม่อยู่ในระหว่างถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัย
การขอยกเว้นหรือผ่อนผันคุณสมบัติตาม (1) วรรคสอง และ (2) ให้เสนอเหตุผลความจำเป็นต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
ข้อ 38
ให้ข้าราชการที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
ยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
เพื่อพิจารณาอนุญาต
และมีคำสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นลาไปปฏิบัติงานได้โดยถือว่าเป็นการไปทำการใด
ๆ อันจะนับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
มีกำหนดเวลาไม่เกินสี่ปีสำหรับการไปปฏิบัติงานประเภทที่ 1
หรือมีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปีสำหรับการไปปฏิบัติงานประเภทที่ 2
โดยไม่รับเงินเดือน
เว้นแต่อัตราเงินเดือนที่ได้รับจากองค์การระหว่างประเทศต่ำกว่าอัตราเงิน
เดือนของทางราชการที่ผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้นให้มีสิทธิได้รับเงินเดือน
จากทางราชการสมทบ
ซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนจากองค์การระหว่างประเทศแล้วไม่เกินอัตราเงินเดือน
ของทางราชการที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้น
ข้อ 39
ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศหากประสงค์
จะอยู่ปฏิบัติงานต่อ
ให้ยื่นเรื่องราวพร้อมทั้งเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ
ต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อพิจารณาอนุญาต
และมีคำสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นไปปฏิบัติงานได้โดยถือว่าเป็นการไปทำการใด ๆ
อันจะนับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
ตามกฎหมายว่าด้วยกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลา
ระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการได้อีกแต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกินสี่ปี
การอนุญาตให้ข้าราชการผู้ใดไปปฏิบัติงานประเภทที่ 2
เกินกว่าหนึ่งปี ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้นั้นออกจาก
ราชการในช่วงเวลาที่ไปปฏิบัติงานเกินหนึ่งปีด้วย
ข้อ 40 เมื่อกระทรวง ทบวง
กรมเจ้าสังกัดได้มีคำสั่งให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานตามข้อ 38
หรือให้ไปปฏิบัติงานต่อหรือให้ออกจากราชการตามข้อ 39 แล้ว
ให้ส่วนราชการส่งสำเนาคำสั่งดังกล่าวให้กระทรวงการคลัง
และองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
ข้อ 41 ให้กระทรวง ทบวง
กรมเจ้าสังกัดจัดทำสัญญาผูกมัดข้าราชการที่ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่าง
ประเทศประเภทที่ 2
ให้กลับมารับราชการในส่วนราชการเป็นเวลาหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่ไปปฏิบัติ
งาน
ข้าราชการผู้ใดไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศแล้วไม่กลับมารับราชการ
หรือกลับมารับราชการไม่ครบกำหนดตามสัญญา ให้ชดใช้เงินเบี้ยปรับแก่ทางราชการ
ดังนี้
(1) ไม่กลับเข้ารับราชการเลย
ให้ชดใช้เป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ได้รับ
คูณด้วยระยะเวลาที่ลาไปปฏิบัติงานที่คิดเป็นเดือน เศษของเดือน
ถ้าเกินสิบห้าวันให้คิดเป็นหนึ่งเดือน
(2) กลับมารับราชการไม่ครบกำหนดตามสัญญา ให้ชดใช้เบี้ยปรับตาม (1) ลดลงตามส่วน
การทำสัญญาตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดเมื่อจัดทำแล้วให้ส่งให้
กระทรวงการคลัง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน แห่งละ 1 ชุดด้วย
ข้อ 42 ข้าราชการที่ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
เมื่อปฏิบัติงานแล้วเสร็จให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ภายในสิบวัน
นับแต่วันถัดจากวันเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานและให้รายงานผลการไปปฏิบัติงานให้
รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบ ภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ
การรายงานผลการไปปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบรายงานการไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ตามที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
ส่วนที่ 9 การลาติดตามคู่สมรส
ข้อ 43 ข้าราชซึ่งประสงค์จะลาติดตามคู่สมรส
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงปลัดกระทรวงหรือหัว
หน้าส่วนราชการขึ้นตรง แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุญาตให้ลาได้ไม่เกินสองปี
และในกรณีจำเป็นอาจอนุญาตให้ลาต่อได้อีกสองปี
แต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกินสี่ปี ถ้าเกินสี่ปี ให้ลาออกจากราชการ
สำหรับปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
และข้าราชการในราชบัณฑิตยสถานให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
ส่วนปลัดกรุงเทพมหานครให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เพื่อพิจารณาอนุญาต
ข้อ 44 การพิจารณาอนุญาตให้ข้าราชการลาติดตามคู่สมรส
ผู้มีอำนาจอนุญาตจะอนุญาตให้ลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้โดยมิให้เสียหาย
แก่ราชการ แต่เมื่อรวมแล้วจะต้องไม่เกินระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ 43
และจะต้องเป็นกรณีที่คู่สมรสอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือปฏิบัติงานในต่างประเทศเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่ว่าจะอยู่ปฏิบัติ
หน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงานในประเทศเดียวกันหรือไม่
ข้อ 45 ข้าราชการที่ได้ลาติดตามคู่สมรสครบกำหนดระยะเวลาตามข้อ 43
ในช่วงเวลาที่คู่สมรสอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ติดต่อกันคราวหนึ่งแล้ว ไม่มีสิทธิขอลาติดตามคู่สมรสอีก
เว้นแต่คู่สมรสจะได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฎิบัติงานประจำในประเทศ
ไทยแล้วต่อมาได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไปปฏิบัติงานในต่าง
ประเทศอีกในช่วงเวลาใหม่ จึงจะมีสิทธิขอลาติดตามคู่สมรสตามข้อ 43 ได้ใหม่
|
หมวด 3 การลาของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม
|
ข้อ 46 การลาของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหมวดนี้
เว้นแต่กรณีที่ไม่มีกำหนดไว้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในหมวด 1 และหมวด 2 ข้อ 47 การลาทุกประเภท
การหยุดราชการเพราะพฤติการณ์พิเศษและการไปต่างประเทศของประธานศาลฎีกาให้
อยู่ในดุลยพินิจของประธานศาลฎีกาและแจ้งให้คณะกรรมการตุลาการทราบ
ทั้งนี้ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการแจ้งให้กระทรวงยุติธรรมทราบด้วย
ข้อ 48 การหยุดราชการเพราะพฤติการณ์พิเศษ
การไปต่างประเทศและการลาทุกประเภทนอกจากการลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่าง
ประเทศ ของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค
อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
อธิบดีศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางและอธิบดีผู้พิพากษาภาค
ให้เป็นอำนาจของประธานคณะกรรมการตุลาการเป็นผู้พิจารณาอนุญาตและแจ้งให้คณะ
กรรมการตุลาการทราบ
ทั้งนี้ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการแจ้งให้กระทรวงยุติธรรมทราบด้วย
ข้อ 49 การหยุดราชการเพราะพฤติการณ์พิเศษ
การไปต่างประเทศและการลาทุกประเภทนอกจากการลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่าง
ประเทศ ของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม ให้เป็นไปตามตาราง หมายเลข 6
เว้นแต่กรณีตามข้อ 50 และข้อ 51
ข้อ 50
การลาทุกประเภทและการหยุดราชการเพราะพฤติการณ์พิเศษของข้าราชการตุลาการ
ที่ไปทำงานในตำแหน่งข้าราชการธุรการหรือตำแหน่งการเมืองในกระทรวงยุติธรรม
รวมทั้งผู้ช่วยผู้พิพากษาที่มิได้ไปปฏิบัติหน้าที่ในศาลให้เป็นอำนาจของปลัด
กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ข้อ 51
ข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรมผู้ประสงค์จะลาไปปฏิบัติงานในองค์การ
ระหว่างประเทศ
ให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมที่จะพิจารณาอนุญาตโดยความ
เห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการ
ข้อ 52 การขออนุญาตไปต่างประเทศซึ่งอยู่ติดเขตแดนประเทศไทย
ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในท้องที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใด
มีอำนาจอนุญาตให้ผู้พิพากษา ผู้ช่วยผู้พิพากษา
ดะโต๊ะยุติธรรมที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในศาลนั้น ๆ
ไปประเทศดังกล่าวได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน
|
หมวด 4 การลาของข้าราชการการเมือง และข้าราชการการเมืองกรุงเทพมหานคร
|
ข้อ 53 การลาทุกประเภทและการไปต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี ให้อยู่ในดุลยพินิจของนายกรัฐมนตรี และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ ข้อ 54 การลาทุกประเภทและการไปต่างประเทศของข้าราชการการเมือง
ให้เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
หรือในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัด รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ข้อ 55
การลาทุกประเภทและการไปต่างประเทศของข้าราชการการเมืองกรุงเทพมหานครให้เป็น
อำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
|
| ประกาศ ณ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2535 |
| (ลงชื่อ) อานันท์ ปันยารชุน (นายอานันท์ ปันยารชุน) นายกรัฐมนตรี |
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539
(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนพิเศษ 12 ง ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2539)
ตารางหมายเลข 1
ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต และอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาของข้าราชการพลเรือน
ผู้มีอำนาจพิจารณา หรืออนุญาต | ผู้ลา | ประเภทการลา |
1(ป่วย) |
2(คลอดบุตร) |
3(กิจ) |
4(พักผ่อน) |
5(อุปสมบท
/ฮัจย์) |
6(เตรียมพล) |
7(ศึกษา/อบรม/ดูงาน/วิจัย) |
8(องค์การ
ระหว่างประเทศ) |
9(ติดตาม
คู่สมรส) |
วันอนุญาต ครั้งหนึ่งไม่เกิน | ต่าง ปท. | ใน ปท. |
นายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด | 1. ข้าราชการทุกตำแหน่งในสังกัด 2. ข้าราชการในราชบัณฑิตยสถาน | ตามที่เห็น สมควร | ตามที่เห็น สมควร | X | X | X | X | X | X | X | X |
ปลัดกระทรวง | ข้าราชการทุกตำแหน่งในสังกัด | ตามที่เห็น สมควร | ตามที่เห็น สมควร | X | X | X | X | X | X | - | X |
หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง | ข้าราชการทุกตำแหน่งในสังกัด | ตามที่เห็น สมควร | ตามที่เห็น สมควร | X | X | X | X | X | X | - | X |
หัวหน้าส่วนราชการ (ยกเว้นผู้ว่าราชการจังหวัด) | ข้าราชการทุกตำแหน่งในสังกัด | 120 | 45 | X | X | - | X | - | X | - | - |
ผู้ว่าราชการจังหวัด | ข้าราชการทุกตำแหน่งในสังกัด | 120 | 45 | X | X | - | X | - | - | - | - |
ผู้อำนวยการกอง/ หัวหน้ากอง เลขานุการกรม หัวหน้าส่วนราชการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่ มีฐานะเทียบเท่ากอง หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด นายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ | ข้าราชการทุกตำแหน่งในกอง เทียบเท่ากอง ส่วนราชการ ประจำจังหวัด อำเภอ หรือกิ่งอำเภอ | 60 | 30 | X | X | - | - | - | - | - | - |
หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าส่วนราชการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่ มีฐานะเทียบเท่า ฝ่ายหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ | ข้าราชการทุกตำแหน่งในฝ่าย เทียบเท่าฝ่าย ส่วนราชการประจำอำเภอ | 30 | 15 | - | - | - | - | - | - | - | - |
หมายเหตุ : X หมายถึง มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาประเภทนั้น
|